หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

ปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์

พลังงานจากดวงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานจากดวงอาทิตย์มาถึงผิวโลกเพียงครึ่งหนึ่งของที่ส่งมาเท่านั้น
ใน 1 ชั่วโมง โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ประมาณ 174 [petawatts], 30% ของพลังงานนี้ถูกสะท้อนกลับไปในอวกาศ ที่เหลิอถูกดูดซับโดยเมฆ มหาสมุทรและพื้นดิน คิดเป็น 3,850,000 [exajoules] ต่อปี ประมาณว่า พลังงานนี้ใน 1 ชั่วโมงมีปริมาณเกือบเท่ากับพลังงานที่โลกใช้ทั้งปี (510 EJ ในปี 2009)[1]
พลังงานนี้เป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตในโลก ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์บอน พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน หรือ พลังงานหมุนเวียน ที่มีศักยภาพสูง ปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด และยังเป็นต้นกำเนิดของพลังงานน้ำ (จากการทำให้น้ำกลายเป็นไอและลอยตัวขึ้นสูง พลังงานน้ำที่ตกกลับลงมาถูกนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานเคมีในอาหาร (พืชสังเคราะห์แสง เปลี่ยนแร่ธาตุให้เป็นแป้งและน้ำตาล ซึ่งสามารถให้พลังงานแก่มนุษย์และสัตว์ชนิดต่าง ๆ) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานลม (ทำให้เกิดความกดอากาศและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ) และเป็นต้นกำเนิด พลังงานคลื่น (ทำให้น้ำขึ้น-ลง)ส่วนมากนำมาทำระเบิด

ทำไมต้องปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์ ?

  ในสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งในปัจจุบัน การเจาะน้ำน้ำบาดาล การขุดสระเก็บน้ำก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อเป็นการลดต้นทุน การใช้พลังงานแสงทิตย์ด้วยการติดตั้งปั๊มสูบน้ำโซลาร์เซลล์ เป็นลงทุนเพียงครั้งเดียว และสามารถใช้ได้เป็นเป็นเวลานานหลายสิบปี

 ปัญหาภัยแล้งที่มีทั่วทุกภูมิภาคนั้น ไม่เพียงแต่ภาคเกษตรเท่านั้นที่เดือดร้อน บรรดาบ้านพัก รีสอร์ท ในเมืองบนภูเขา เมืองท่องเที่ยวต่างๆ ที่เคยอาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ล้วนแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะนำมาใช้อุปโภคบริโภคทั้งนั้น เพราะผู้คนต้องการใช้น้ำมากขึ้น และปรากฏการณ์เอลนิโญ ส่งผลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงทำให้เกิดภัยแล้งไปทั่วทุกภูมิภาค และภัยแล้งก็มาเร็วกว่าปกติ

ปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์

             บางพื้นที่มีแหล่งน้ำแต่ไม่มีงบประมาณจ่ายค่าน้ำมันหรือค่าไฟในการสูบน้ำ เนื่องจากงบประมาณของ
ท้องถิ่นมีจำกัด การแก้ปัญหาให้ถูกจุดและยั่งยืนนั้น ทางออกที่ดีคือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานดูดน้ำ   

โดยการใช้ปั๊มสูบน้ำโซลาร์เซลล์ การนำระบบโซลาร์เซลล์แปลงแสงแดดไปเป็นพลังงานไฟฟ้ามาสูบน้ำในระบบประปาหมู่บ้าน แปลงเกษตร หรือแม้กระทั่งรีสอร์ทต่างๆ จะสร้างผลดีให้กับกลุ่มคนเหล่านี้เป็นอย่างมาก   
                เนื่องจากระบบโซลาร์เซลล์จะทำงานด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่โล่งแจ้ง รับแสงแดด แล้วแปลงแสงแดดมาเป็นกระแสไฟฟ้า ผ่านระบบกล่องควบคุมกระแสไฟฟ้า แปลงแสงแดดเป็นไฟฟ้า (อินเวอร์เตอร์) แล้วต่อตรงเข้ากับปั๊มสูบน้ำโซลาร์เซลล์ ใช้ได้ทั้งปั๊มน้ำบนดิน เช่น ปั๊มชัก ปั๊มหอยโข่ง หรือปั๊มน้ำใต้ดินหรือปั๊มบ่อบาดาล (ซัมเมิร์ช) ซึ่งสามารถสูบน้ำใช้ตลอดทั้งวัน เมื่อมีแสงแดดปั๊มก็จะเริ่มทำงาน สูบน้ำได้ทั้งวัน ไม่จำเป็นต้องหยุดพักถ้ามีพื้นที่เก็บน้ำได้มากพอ ส่วนกลางคืนปั๊ม จะหยุดทำงาน และเป็นการพักปั๊มเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานแค่เท่านั้นจะสามารถสูบน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ขึ้นมาใช้แก้ปัญหาภัยแล้งได้
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์

" ทำนา 1 ไร่ 1 แสน กับปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์ "

          ต้นแบบ ปั๊มสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ ไม่มีแบตเตอรี่ไม่ใช้น้ำมัน โดยใช้อินเวอเตอร์
เกิดจากผลงานวิจัยใช้ได้จริงจากเนคเทค มุ่งลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรที่จำเป็นต้องผันน้ำจากแหล่งน้ำเข้าสู่บ่อพักน้ำหรือพื้นที่เพาะปลูก ทดสอบใช้ในโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนในพื้นที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ปัจจุบัน ปั๊มน้ำที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ปั๊มโซล่าเซลล์โดยตรงจากแผงโซลาร์ต้องใช้ปั๊มน้ำแบบ DC (DC Pump) ซึ่งมีขนาดกำลังขับต่ำ ไม่มีรูปแบบของปั๊มน้ำให้เลือกตามการใช้งานมากนัก ขณะที่ปั๊มน้ำแบบ AC (AC Pump) ซึ่งในท้องตลาดมีให้เลือกใช้หลายรุ่นหลายแบบ หลายกำลังขับ จำเป็นต้องใช้อินเวอเตอร์ในการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไปเป็นกระแสสลับก่อน อินเวอเตอร์ปั๊มน้ำ ได้เพิ่มระบบ MPPT (Maximum Power Point Tracking) ที่มีความสามารถจัดการพลังงานแบบหาจุดการถ่ายทอดพลังงานสูงสุดในแต่ละช่วงแสง เพื่อให้ปั๊มน้ำทำงานได้ดีที่สุดที่ความเข้มแสงหนึ่งๆ โดยตัวอินเวอเตอร์เองได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานกลางแจ้งด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่า การกันฝุ่นกันน้ำตามมาตรฐาน IP55 อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับแบตเตอรี่ สามารถนำไปขับมอเตอร์แบบ PSC ได้ตั้งแต่ 0.5-3 แรงม้า และมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบหลายขนาด ทั้งกำลังดูดหรือส่ง (Head) อัตราการไหล (Flow) 
แหล่งที่มา : โซลาร์ปั๊ม วิจัยใช้ได้จริง. (2557). กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2557, หน้า 9.

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น