หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แผงโซล่าเซลล์ กรุงเทพโซล่าเซลล์ เชียงราย

      แผงโซล่าเซลล์
                เนื่องจากปัจจุบันนี้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่โซล่าเซลล์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักแค่เพียงภายนอก รูปร่างลักษณะหรือการทำงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่แท่จริงเกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์

                                           คลิ๊กดู แผงโซล่าเซลล์
โซล่าเซลล์ (
Solar Cell )

             หมายถึง กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากการตกกระทบของแสงบนวัตถุที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน (Silicon), แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide)เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงก็จะเปลี่ยนเป็นตัวนำไฟฟ้า และจะถูกแยกออกเป็นประจุบวก ประจุลบ เพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อนำขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่อุปกรณ์นั้นๆได้

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module or Photovoltaics module(PV module)) 

                หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระจกใส ด้านในเป็นแผ่นโซล่าเซลล์หลายแผ่นต่อเรียงกัน อาจจะมีสีฟ้าเข้มหรือสีดำแล้วแต่ชนิดของโซล่าเซลล์ที่นำมาทำแผง ขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไปตามขนาดของกำลังไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้ ลักษณะภายนอกขอบเป็นโลหะหรืออลูมิเนียมที่มีลักษณะแข็งแรง ไว้สำหรับยึดกับตัวจับที่ใช้สำหรับที่ต่างๆ     
                แผงโซล่าเซลล์ หรือ แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์  มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถว เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ ตัวแปรที่สำคัญ ที่มีส่วนทำให้โซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพในการทำงานคือสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เพราะในแต่ละพื้นที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์และอากาศที่ต่างกัน จึงมีผลให้ปริมาณของค่าเฉลี่ยพลังงานแต่ละวันไม่เท่ากันและยังนำไปคำนวณระบบหรือคำนวณหาจำนวนของแผงแสงอาทิตย์ที่ต้องใช้ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงอุณหภูมิและ ความเข้มของแสง ก็มีผลต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า

อุปกรณ์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์

1.แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt ) มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถว เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ ตัวแปรที่สำคัญ ที่มีส่วนทำให้โซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพในการทำงานคือสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ โดยการต่อกันแบบอนุกรม จะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และการต่อกันแบบขนาน จะเพิ่มพลังงานไฟฟ้า

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) 


2.เครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller)

                 มีหน้าที่นำประจุกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์โซล่าเซลล์เข้าสู่แบตเตอรี่ และควบคุมประจุกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่

เครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller)

3.แบตเตอรี่ (Battery)

                มีหน้าที่เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้จากแผงเซลล์โซล่าเซลล์ไว้ใช้เวลาที่ต้องการ


แบตเตอรี่ (Battery)


4.เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)

             ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง ที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)


5.ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection)

                 ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อฟ้าผ่า หรือเกิดการเหนี่ยวนำทำให้ความต่างศักย์สูง ในระบบทั่วไปมักไม่ใช้อุปกรณ์นี้ จะใช้สำหรับระบบขนาดใหญ่และมีความสำคัญเท่านั้น รวมถึงต้องมีระบบสายดินที่มีประสิทธิภาพด้วย


ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection)


                ทุกวันนี้มนุษย์ใช้ไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองและไม่เห็นคุณค่า จนส่งผลเสียต่อธรรมชาติ เพราะไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นพลังงานที่เกิดจากการเผาไหม้พวกถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ กระบวนการเหล่านี้จะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศ  ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน เกิดฝนกรด และอากาศเป็นพิษ ฯลฯ และถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเมื่อมีใช่แล้วก็มีหมดไป  แต่หาเราหันมาใช่พลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นการนำพลังงานจากแหล่งธรรมชาติมาใช้อย่างคุ้มค่าและไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้ ไม่มีการปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม แม้ว่าในปัจจุบันราคาโซล่าเซลล์ยังแพงอยู่ แต่เราก็สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้และขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าได้ หากเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ถือว่าคุ่มเสียยิ่งกว่าคุ่ม




วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์ และอุปกรณ์




การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์  และอุปกรณ์


ระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์  มีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
1.แผงโซล่าเซลล์
แผงโซล่าร์เซลล์แบบ Crystalline แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
-โมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline) และ
-โพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystaline) ทั้งสองแบบคุณภาพใกล้เคียงกัน ที่ขนาดกำลังวัตต์เท่ากัน
แผงโซล่าเซลล์แบบ Mono Crystalline จะมีขนาดเล็กกว่าประมาณ 10% เหมาะสำหรับการติดตั้งที่ต้องการประหยัดพื้นที่  แต่สำหรับประเทศไทยเรื่องพื้นอาจจะยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สามารถเลือกใช้แผงโซล่าร์เซลล์
แบบ Poly Crystalline ในราคาที่ประหยัดกว่า
 
แผงโซล่าเซล์


แผงโซล่าเซลล์ ติดตั้งสำหรับบนหลังคาบ้านพักอาศัย (solar roof)
การเลือกแผงโซล่าเซลล์ควรเผื่อขนาดกำลังติดตั้งให้มากกว่าขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้า อย่างน้อย 30%
เผื่อค่าสูญเสียในระบบ  และเป็นการถนอมแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น การใช้งานแบตเตอรี่จนหมดแล้วชาร์ททุกวันจะทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้นลง   การใช้แบตเตอรี่รถยนต์ไม่ว่าแบตเตอรี่แห้งหรือเปียก ที่ไม่ใช่แบตเตอรี่แบบ deep cycle ยิ่งควรเผื่อให้มากขึ้น

โซล่าเซลล์สำหรับที่พักอาศัย

แผงโซล่าเซลล์ ติดตั้งสำหรับ ปั๊มพลังงานแสงอาทิตย์
  ถ้าต้องการนำไปต่อใช้งานโดยตรง โดยไม่ใช้แบตเตอรี่  ควรเผื่อกำลังติดตั้งไว้ 1 เท่าของขนาดปั๊มน้ำ DC เพราะช่วงการสตาร์ทปั๊มน้ำต้องใช้กระแสสูง  การเลือกขนาดแผงโซล่าเซลล์พอดีกับขนาดปั๊มน้ำโซล่าร์  จะไม่สามารถทำให้ปั๊มน้ำทำงานได้เพราะกระแสช่วงสตาร์ทปั๊มน้ำจะสูงกว่าปกติ ประมาณสองเท่า  หากต้องการใช้ขนาดที่พอดี ควรต่อแบเตอรี่เพื่อช่วยการสตาร์จปั๊มน้ำ  แล้วจึงสามารถใช้พลังงานจากแผงโซล่าร์ ได้โดยตรง
ความสามารถในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า ของแผงโซล่าเซลล์ อายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี  โดยทั่วไปสเปคจะระบุไว้ที่เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์จะเหลือประมาณ 90%
แผงโซล่าเซลล์ มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดและประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ สามารถเลือกขนาดต่างๆ ให้เหมาะกับการในรูปแบบต่างๆ เช่น โซล่าเซลล์ 10 วัตต์ 17 วัตต์ นำไปใช้กับไฟส่องสว่างตามทางเดิน
 โซล่าเซลล์ 225 วัตต์ โซล่าเซลล์240วัตต์ โซล่าเซลล์ 245วั ตต์ โซล่าเซลล์280วัตต์ นำไปใช้กับปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
 
ปั๊มสูบน้ำโซล่าเซล


2.เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ solar control charger
   ใช้สำหรับควบคุมซาร์จไฟที่ได้จากแผงเข้าเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ มีให้เลือกหลายชนิด เลือกให้ตรงตามขนาดวัตต์ของแผงโซล่าเซลล์ หรือมากกว่าเล็กน้อย เพื่อความทนทานชาร์จลงแบต 12V. ส่วน 10A. นั้นไม่ใช่ขนาดแบตฯ แต่เป็นขนาดโซล่าร์ที่ใช้ได้ แผงโซล่าร์แต่ละขนาดจะมีค่า Imp บอก ถ้าค่า Imp นั้นไม่เกิน 10A. ก็เป็นใช้ได้ ถ้าเกินก็ต้องใช้รุ่น20A. เช่นนี้เป็นต้น หรืออาจสรุปเอาง่ายๆ ได้ว่าแผงไม่เกิน 120W. สามารถใช้กับเครื่องชาร์จ 10A. ได้


3.แบตเตอร์รี่ Battery  
  มีไว้สำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ เลือกชนิดที่หาง่ายๆในท้องถิ่นที่อยู่อาศัย ควรเลือกให้มีขนาดความจุของแอมป์เพียงพอต่อการเก็บไฟที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่หน้าที่ของมันคือเก็บพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น การเพิ่มจำนวนหรือขนาดแบตเตอรี่เป็นเพียงการเพิ่มพื้นที่เก็บไฟฟ้าเท่านั้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่
ผลิตไฟฟ้าคือแผงโซล่าเซลล์ ดังนั้น หากขนาดแผงโซล่าเซลล์ยังเท่าเดิม ปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็เท่าเดิม

battery deep cycle
แบตเตอรี่ที่เหมาะสำหรับใช้งานกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดคือ แบตเตอรี่แบบจ่ายประจุสูง (Deep discharge battery) เพราะถูกออกแบบให้สามารถจ่ายพลังงานปริมาณเล็กน้อยได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โดยไม่เกิดความเสียหาย เราจะสามารถใช้ไฟฟ้าที่เก็บ อยู่ในแบตเตอรี่นี้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 80% โดยแบตเตอรี่ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งต่างจากแบตเตอรี่รถยนต์ที่ถูกออกแบบให้จ่ายพลังงานสูงใน ช่วงเวลาสั้นๆ ถ้าใช้ไฟฟ้ามากกว่า 20-30% ของพลังงานที่เก็บอยู่ จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้ 








4.อินเวอร์เตอร์ inverter
เลือกซื้อตามขนาดกำลังวัตต์รวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่เรารวมไว้โดยให้ขนาดกำลังวัตต์ของอินเวอร์เตอร์มากกว่า กำลังวัตต์รวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณ 30-40%เพื่อความทนทาน เช่นทีวีคุณใช้ไฟฟ้า 60W ควรเลือกซื้อเครื่องแปลงไฟ อินเวอร์เตอร์ ขนาด 100W ความเหมือนที่แตกต่างของอินเวอร์เตอร์กับงานโซล่าเซลล์ ปัจจุบันมีการใช้ inverterเพื่อแปลงไฟจากไฟฟ้า DC. จากรถยนต์,โซล่าเซลล์,กังหันลม เป็นไฟ AC 220V. (ไฟบ้าน) กันอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว ปัจจุบันมี inverter อยู่สองแบบหลักๆที่ใช้ในการแปลงไฟและใช้ในระบบประหยัดพลังงาน
อินเวอร์เตอร์

Off grid inverter
1.Off grid inverter คืออินเวอร์เตอร์แปลงไฟกระแสตรง เป็นไฟบ้าน โดยราคาจะถูกมากจะแปลงไฟ DCออกมาเป็น 220AC โดยที่สามารถไปต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน คอมพิวเตอร์ พัดลม ทีวี ปั๊มน้ำได้เลย

Off grid inverter :
1.ราคาถูก
2.หาซื้อได้ง่าย
3.ต้องแยกโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้ามาต่อต่างหากไม่สามารถต่อร่วมการไฟฟ้าได้โดยตรงเนื่องจากsine wave
และcycle time จะไม่ตรงกับของการไฟฟ้า

2.On grid inverter ( Grid tie inverter) อินเวอร์อีกชนิดหนึ่ง เพียงแต่สามารถต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้เลยโดยมี cpu ประมวลผลเช็คสัญญาณ Phase Shift sine wave ของon grid inverter ให้มีลูกคลื่น
(sine wave)และ cycleตรงกันกับของระบบการไฟฟ้า สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้
แต่ราคาจะสูงกว่าแบบ off grid


ระบบ Off-Grid


On grid inverter :
1.ราคาสูงกว่าแบบ Off grid
2.สามารถต่อร่วมกับไฟของการไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องแยกโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้ามาต่อ
3.on grid inverter เป็นเหมือน แหล่งจ่ายไฟของการไฟฟ้าอีกชุด เมื่อต่อร่วมกับไฟบ้านจะทำให้มิเตอร์ไฟหมุนช้าหรือหมุนถอยหลังทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้โดยง่าย









วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

ปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์

พลังงานจากดวงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานจากดวงอาทิตย์มาถึงผิวโลกเพียงครึ่งหนึ่งของที่ส่งมาเท่านั้น
ใน 1 ชั่วโมง โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ประมาณ 174 [petawatts], 30% ของพลังงานนี้ถูกสะท้อนกลับไปในอวกาศ ที่เหลิอถูกดูดซับโดยเมฆ มหาสมุทรและพื้นดิน คิดเป็น 3,850,000 [exajoules] ต่อปี ประมาณว่า พลังงานนี้ใน 1 ชั่วโมงมีปริมาณเกือบเท่ากับพลังงานที่โลกใช้ทั้งปี (510 EJ ในปี 2009)[1]
พลังงานนี้เป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตในโลก ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์บอน พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน หรือ พลังงานหมุนเวียน ที่มีศักยภาพสูง ปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด และยังเป็นต้นกำเนิดของพลังงานน้ำ (จากการทำให้น้ำกลายเป็นไอและลอยตัวขึ้นสูง พลังงานน้ำที่ตกกลับลงมาถูกนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานเคมีในอาหาร (พืชสังเคราะห์แสง เปลี่ยนแร่ธาตุให้เป็นแป้งและน้ำตาล ซึ่งสามารถให้พลังงานแก่มนุษย์และสัตว์ชนิดต่าง ๆ) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานลม (ทำให้เกิดความกดอากาศและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ) และเป็นต้นกำเนิด พลังงานคลื่น (ทำให้น้ำขึ้น-ลง)ส่วนมากนำมาทำระเบิด

ทำไมต้องปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์ ?

  ในสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งในปัจจุบัน การเจาะน้ำน้ำบาดาล การขุดสระเก็บน้ำก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อเป็นการลดต้นทุน การใช้พลังงานแสงทิตย์ด้วยการติดตั้งปั๊มสูบน้ำโซลาร์เซลล์ เป็นลงทุนเพียงครั้งเดียว และสามารถใช้ได้เป็นเป็นเวลานานหลายสิบปี

 ปัญหาภัยแล้งที่มีทั่วทุกภูมิภาคนั้น ไม่เพียงแต่ภาคเกษตรเท่านั้นที่เดือดร้อน บรรดาบ้านพัก รีสอร์ท ในเมืองบนภูเขา เมืองท่องเที่ยวต่างๆ ที่เคยอาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ล้วนแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะนำมาใช้อุปโภคบริโภคทั้งนั้น เพราะผู้คนต้องการใช้น้ำมากขึ้น และปรากฏการณ์เอลนิโญ ส่งผลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงทำให้เกิดภัยแล้งไปทั่วทุกภูมิภาค และภัยแล้งก็มาเร็วกว่าปกติ

ปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์

             บางพื้นที่มีแหล่งน้ำแต่ไม่มีงบประมาณจ่ายค่าน้ำมันหรือค่าไฟในการสูบน้ำ เนื่องจากงบประมาณของ
ท้องถิ่นมีจำกัด การแก้ปัญหาให้ถูกจุดและยั่งยืนนั้น ทางออกที่ดีคือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานดูดน้ำ   

โดยการใช้ปั๊มสูบน้ำโซลาร์เซลล์ การนำระบบโซลาร์เซลล์แปลงแสงแดดไปเป็นพลังงานไฟฟ้ามาสูบน้ำในระบบประปาหมู่บ้าน แปลงเกษตร หรือแม้กระทั่งรีสอร์ทต่างๆ จะสร้างผลดีให้กับกลุ่มคนเหล่านี้เป็นอย่างมาก   
                เนื่องจากระบบโซลาร์เซลล์จะทำงานด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่โล่งแจ้ง รับแสงแดด แล้วแปลงแสงแดดมาเป็นกระแสไฟฟ้า ผ่านระบบกล่องควบคุมกระแสไฟฟ้า แปลงแสงแดดเป็นไฟฟ้า (อินเวอร์เตอร์) แล้วต่อตรงเข้ากับปั๊มสูบน้ำโซลาร์เซลล์ ใช้ได้ทั้งปั๊มน้ำบนดิน เช่น ปั๊มชัก ปั๊มหอยโข่ง หรือปั๊มน้ำใต้ดินหรือปั๊มบ่อบาดาล (ซัมเมิร์ช) ซึ่งสามารถสูบน้ำใช้ตลอดทั้งวัน เมื่อมีแสงแดดปั๊มก็จะเริ่มทำงาน สูบน้ำได้ทั้งวัน ไม่จำเป็นต้องหยุดพักถ้ามีพื้นที่เก็บน้ำได้มากพอ ส่วนกลางคืนปั๊ม จะหยุดทำงาน และเป็นการพักปั๊มเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานแค่เท่านั้นจะสามารถสูบน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ขึ้นมาใช้แก้ปัญหาภัยแล้งได้
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์

" ทำนา 1 ไร่ 1 แสน กับปั๊มสูบน้ำโซล่าเซลล์ "

          ต้นแบบ ปั๊มสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ ไม่มีแบตเตอรี่ไม่ใช้น้ำมัน โดยใช้อินเวอเตอร์
เกิดจากผลงานวิจัยใช้ได้จริงจากเนคเทค มุ่งลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรที่จำเป็นต้องผันน้ำจากแหล่งน้ำเข้าสู่บ่อพักน้ำหรือพื้นที่เพาะปลูก ทดสอบใช้ในโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนในพื้นที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ปัจจุบัน ปั๊มน้ำที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ปั๊มโซล่าเซลล์โดยตรงจากแผงโซลาร์ต้องใช้ปั๊มน้ำแบบ DC (DC Pump) ซึ่งมีขนาดกำลังขับต่ำ ไม่มีรูปแบบของปั๊มน้ำให้เลือกตามการใช้งานมากนัก ขณะที่ปั๊มน้ำแบบ AC (AC Pump) ซึ่งในท้องตลาดมีให้เลือกใช้หลายรุ่นหลายแบบ หลายกำลังขับ จำเป็นต้องใช้อินเวอเตอร์ในการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไปเป็นกระแสสลับก่อน อินเวอเตอร์ปั๊มน้ำ ได้เพิ่มระบบ MPPT (Maximum Power Point Tracking) ที่มีความสามารถจัดการพลังงานแบบหาจุดการถ่ายทอดพลังงานสูงสุดในแต่ละช่วงแสง เพื่อให้ปั๊มน้ำทำงานได้ดีที่สุดที่ความเข้มแสงหนึ่งๆ โดยตัวอินเวอเตอร์เองได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานกลางแจ้งด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่า การกันฝุ่นกันน้ำตามมาตรฐาน IP55 อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับแบตเตอรี่ สามารถนำไปขับมอเตอร์แบบ PSC ได้ตั้งแต่ 0.5-3 แรงม้า และมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบหลายขนาด ทั้งกำลังดูดหรือส่ง (Head) อัตราการไหล (Flow) 
แหล่งที่มา : โซลาร์ปั๊ม วิจัยใช้ได้จริง. (2557). กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2557, หน้า 9.

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์